ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนายกฤษณกันท์ พันธ์เทศ(ทีน)นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่3 หมู่2 เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา Innovation Technology and Information of Education

หน่วยที่ 1

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ


ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่านวกับ กรรม
ซึ่ง นว หมายถึง ใหม่ 
และ กรรม หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวกรรม หรือนวตกรรม หรือว่า นวัตกรรม ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน  และสามารถแปลตรงตามความหมายก็คือ การกระทำใหม่ ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนั้นๆมากยิ่งขึ้น   
นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
                ชัยยงค์  พรหมวงศ์     ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้ จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนมีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
-นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
-นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
-มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
-นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง
ประเภทของนวัตกรรม
 -นวัตกรรมมี  2  ประเภท  คือ
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน  อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต  แต่นำมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษา  5 ประเภทดังนี้
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร        2. นวัตกรรมการเรียนการสอน 
3. นวัตกรรมสื่อการ                           4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล 
                5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ 
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
 ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - เครื่องสอน (Teaching Machine)
              - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
              - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
                 - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)          - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)                     - การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
              - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
              - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
              - ชุดการเรียน

ความหมายของเทคโนโลยี
         เทคโนโลยี หมายถึงการนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการกระบวนการตลอดจนผลิตผล ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุง ระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่า  ในปัจจุบันในวงการต่างๆ เช่นเกษตร แพทย์ อุตสาหกรรม  ธุรกิจ ทหาร ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
               จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง 
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
          1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
              1.1 คน                                                               
1.2 วัสดุและเครื่องมือ
              1.3 เทคนิค-วิธีการ                      
1.4 สถานที่
         2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด
          3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้
          4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
ประโยชน์เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
1. สามารถทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2.สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้
3.สามารถทำให้การจักการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
5.สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6.ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา  หมายถึง  การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
 ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมคือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี  เพราะนวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในระบบงานอย่างจริงจัง  และเทคโนโลยีก็คือ เครื่องมือวัสดุต่างๆ ที่นำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยให้ความสำคัญในเรื่องของวิธีการ การจัดระบบจึงอาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ดังนี้
  


แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของสารสนเทศ    
สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ 
   1. ให้ความรู้
   2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
   4. สามารถประเมินค่าได้
" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"

ความหมายของระบบสารสนเทศ  
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System)หมาย ถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติ การ ระดับกลาง และระดับ
สูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้
   1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน
   2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
   3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
   4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย
ขบวนการที่ทำให้เกิดสารสนเทศเรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology : IT)
ประโยชน์ของสารสนเทศ
1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ             4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน                              5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล                                   4. การจัดเก็บข้อมูล
2. การตรวจสอบข้อมูล                                      5. การวิเคราะห์
3. การประมวลผล                                               6. การนำไปใช้
   แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ
2. สื่อขนาดเล็ก
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์
4. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม 5. อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ
6. ทางด่วนสารสนเทศ
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ที่ไม่หยุดยั้ง  ทำให้วงการศึกษาต้องเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของการเรียนการสอนที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ดังนั้นจึงทำให้วงการศึกษาเปลี่ยนไปในหลายๆด้าน  เช่น
-การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน                       -การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
-การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม การเรียนรู้เชิงเสมือน   -การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
-การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา 
1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี                            4.การเรียนแบบ มัลติมีเดีย 
2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL        5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน                                     6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3.ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
4.ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5.ช่วยลดเวลาในการสอน
6.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น