ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนายกฤษณกันท์ พันธ์เทศ(ทีน)นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่3 หมู่2 เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา Innovation Technology and Information of Education

หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน


จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ ที่ว่า สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ . การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ ได้ ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย
 ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
 จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology   มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วย ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
 ๑ . พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
๒ . พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
๓ . พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
๔ . พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ ประสบการณ์ทางอ้อม
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ ( Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑ . ด้านพุทธิพิสัย ( Cognitive Domain )
๒ . ด้านเจตพิสัย ( Affective Domain )
๓ . ด้านทักษะพิสัย ( Psychomotor Domain )
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ ( Dallard and Miller ) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑ . แรงขับ ( Drive )
๒ . สิ่งเร้า ( Stimulus )
๓ . การตอบสนอง ( Response )
๔ . การเสริมแรง ( Reinforcement
ธรรมชาติของการเรียนรู้ การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
๑ . การเรียนรู้เป็นกระบวนการ การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ
 ๑ . ๑ มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
๑ . ๒ บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
๑ . ๓ บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
๑ . ๔ บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
๑ . ๕ บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
๒ . การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะ
๓ . การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
๔ . การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
การถ่ายโยงการเรียนรู้
การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก ( Positive Transfer ) และการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ ( Negative Transfer )
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก ( Positive Transfer ) คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ ( Negative Transfer ) คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร
การนำความรู้ไปใช้
๑ . ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว ๒ . พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
๓ . ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
๔ . ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
๕ . พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ
๑ . มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน ถาวร
๒ . การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ เท่านั้น
๓ . การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้ ( Theory of Learning ) แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑ . ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง ( Associative Theories)
๒ . ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ ( Cognitive Theories )
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า ( Stimulus ) และการตอบสนอง ( Response ) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ พฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่มองเห็น และสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิด และปฏิกิริยาภายในของผู้เรียน ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑ . ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ( Conditioning Theories )
๑ . ๑ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning Theories )
๑ . ๒ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ( Operant Conditioning Theory )
๒ . ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง ( Connectionism Theories )
๒ . ๑ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง ( Connectionism Theory )
๒ . ๒ ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง ( S-R Contiguity Theory )
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน ( Reflex ) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้ ได้แก่ Pavlov, Watson, Wolpe etc.
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑ . ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
๒ . ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓ . ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ ( Skinner's Operant Conditioning Theory ) B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ ( Operant Behavior ) สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒ แบบ คือ
๑ . Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน ( Reflex ) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
๒ . Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ ฯลฯ .
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ( Thorndike's Connectionism Theory ) Edward L. Thorndike (1874 - 1949) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา เขาเชื่อว่า คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
๑ . กฎแห่งผล ( Law of Effect ) มีใจความสำคัญคือ ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ อินทรีย์ย่อมกระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีกและผลของปฏิกิริยาใดไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก
๒ . กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness ) มีใจความสำคัญ ๓ ประเด็น คือ
๒ . ๑ ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความพอใจ
๒ . ๒ ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วไม่ได้เรียน จะเกิดความรำคาญใจ
๒ . ๓ ถ้าอินทรีย์ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วถูกบังคับให้เรียน จะเกิดความรำคาญใจ
๓ . กฎแห่งการฝึกหัด ( Law of Exercise ) มีใจความสำคัญคือ พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ย่อมก่อให้เกิดความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทำได้ไม่ดีเหมือนเดิมหรืออาจทำให้ลืมได้
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑ . การสอนในชั้นเรียนครูควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน จัดแบ่งเนื้อหาเป็นลำดับเรียงจากง่ายไปยาก เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจติดตามบทเรียนอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาที่เรียนควรมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของผู้เรียน
๒ . ก่อนเริ่มสอนผู้เรียนควรมีความพร้อมที่จะเรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง เช่น ป่วย เหนื่อย ง่วง หรือ หิว จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ
๓ . ครูควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนและทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว แต่ไม่ควรให้ทำซ้ำซากจนเกิดความเมื่อยล้าและเบื่อหน่าย
๔ . ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพึงพอใจและรู้สึกประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม โดยครูต้องแจ้งผลการทำกิจกรรมให้ทราบ หากผู้เรียนทำได้ดีควรชมเชยหรือให้รางวัล หากมีข้อบกพร่องต้องชี้แจงเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่องของกัทรี ( Guthrie's Contiguity Theory ) Edwin R. Guthrie นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความใกล้ชิดต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ถ้ามีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ ( One Trial Learning ) เช่น ประสบการณ์ชีวิตที่วิกฤตหรือรุนแรงบางอย่าง ได้แก่ การประสบอุบัติเหตุที่รุนแรง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ฯลฯ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้อีกดังนี้
๑ . ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ ( Gestalt's Theory )
๒ . ทฤษฎีสนามของเลวิน ( Lewin's Field Theory )
ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ ( Gestalt's Theory ) นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ ( Gestalt Psychology ) ชาวเยอรมัน ประกอบด้วย Max Wertheimer, Wolfgang Kohler และ Kurt Koftka ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ ( Perception ) การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่ นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา ( Insight ) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มี ๒ ส่วน คือ
๑ . การรับรู้ ( Perception )
๒ . การหยั่งเห็น ( Insight )
ทฤษฎีสนามของเลวิน ( Lewin's Field Theory ) Kurt Lewin นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน (1890 - 1947) มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เช่นเดียวกับกลุ่มเกสตัลท์ ที่ว่าการเรียนรู้ เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้ และกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาแต่เขาได้นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง ( Field of Force ) สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก ซึ่งเขาเรียกว่า Life space สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบ
Lewin กำหนดว่า สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ จะมี ๒ ชนิด คือ
๑ . สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ( Physical environment )
๒ . สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา ( Psychological environment )
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้
๑ . ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น
๒ . เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้
๒ . ๑ เน้นความแตกต่าง
๒ . ๒ กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
๒ . ๓ กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม ๒ . ๔ กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
๒ . ๕ กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
๓ . การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน            ๔ . คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
๕ . บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้

ทฤษฎีปัญญาสังคม ( Social Learning Theory ) Albert Bandura (1962 - 1986) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง เดิมใช้ชื่อว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม " ( Social Learning Theory ) ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น ทฤษฎีปัญญาสังคม ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต ( Observational Learning ) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของผู้อื่นแล้วพยายามเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การออกเสียง การขับรถยนต์ การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ เป็นต้น 
ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
๑ . ขั้นให้ความสนใจ ( Attention Phase )
๒ . ขั้นจำ ( Retention Phase )
๓ . ขั้นปฏิบัติ ( Reproduction Phase )
๔ . ขั้นจูงใจ ( Motivation Phase )
หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี ๓ ประการ คือ
๑ . กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน
๒ . การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ๓
๓ . ผลของการเรียนรู้กับการแสดงออกอาจจะแตกต่างกัน
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑ . ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
๒ . การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว
๓ . ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น